ชุมชนขนมแปลก ริมคลองหนองบัว จังหวัดจันทบุรี
ตลาดหนองบัว จังหวัดจันทบุรี เป็นชุมชนริมคลองที่เงียบสงบ บรรยากาศร่มรื่น ทิวทัศน์สวยงามด้วยธรรมชาติแห่งผืนป่าชายเลน วิถีชีวิตเรียบง่าย มีบ้านเรือนไม้แบบโบราณหลายหลังที่เก่าแก่อายุกว่าร้อยปีตั้งเรียงรายสองฝั่งถนน ลักษณะจะเป็นบ้านทรงสูงโปร่งมีลายฉลุสวยงามคล้ายกับชุมชนย่านท่าหลวง วันนี้ คุณกนกกิตติกา กฤตย์วุฒิกร ผู้อำนวยการสำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง หรือคนที่คุ้นเคยจะเรียกขานว่า ผอ.เกด ให้เกียรติเป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์อาสาพาเราไปเยี่ยมชมและสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนโบราณหนองบัวแห่งนี้ค่ะ
ตลาดนัดสีเขียว ตลาดรักษ์โลกของชาวสุรินทร์
ฉันเป็นคนชอบเดินตลาดสด ถ้ามีโอกาสมักจะไม่พลาดเพราะชอบความมีชีวิตชีวาของตลาดสดยามเช้า และถ้าอยากรู้ว่าชาวบ้านเขากินอยู่กันยังไงก็ดูจากสินค้าที่นำมาวางขายและชาวบ้านที่มาจับจ่ายในตลาดนี่แหละค่ะ
มาถึงสุรินทร์ก็มีคนกระซิบว่าต้องไปเดิน ‘ตลาดนัดสีเขียว’ หน้า อบจ. สุรินทร์ ซึ่งเปิดมาตั้งแต่ปี 2551 จนเป็นที่รู้กันว่าทุกเช้าวันเสาร์ เกษตรกรและชาวบ้านจะนำผลผลิตจากแปลงนาและพืชผลทางเกษตรอินทรีย์มาวางขายตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึงบ่าย 2 โมง (ตลาดสีเขียวต้องเดินเข้าไปด้านในค่ะ ส่วนด้านหน้าจะเป็นตลาดที่ชาวเมืองนำสินค้าทั่วไปขายกัน)
ปราสาทศีขรภูมิ ความงามที่ไม่อาจซ่อนเร้นจากสายตาชาวโลก
ปราสาทศีขรภูมิตั้งอยู่ภายในชุมชนบ้านปราสาท ช่วงเย็นๆ เราจะเห็นหนุ่มสาวและครอบครัวพาลูกหลานมาเดินเล่นชมพระอาทิตย์ตกดินเป็นภาพที่เห็นแล้วแอบอิจฉาเล็กน้อย ถ้ากรุงเทพฯ มีปราสาทใกล้บ้านแบบนี้บ้างก็คงจะดี ลักษณะโครงสร้างของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ จากจุดที่เรายืนอยู่สามารถมองเห็นปรางค์ทั้ง 5 องค์ตั้งโดดเด่นบนฐานศิลาแลง คล้ายปราสาทเมืองต่ำ แต่ขนาดเล็กกว่ามาก ด้านซ้ายมือเป็นสระน้ำซึ่งถ่ายภาพจากมุมนี้ยามพระอาทิตย์ตก จะเห็นเงาของปราสาทสะท้อนบนผิวน้ำงดงามมาก
ภูมิปัญญา ‘ผ้าภูอัคนี’ มหัศจรรย์จากดินภูเขาไฟ
‘ผ้าภูอัคนี’ หรือ ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านเจริญสุข เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว โดยคุณแม่สำรวย ศรีมะเรือง ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทดลองนำเอาดินภูเขาไฟจากภูเขาพระอังคารที่ดับสนิทแล้วมาเป็นวัตถุดิบในการย้อมเส้นฝ้ายและไหม โดยครั้งแรกสียังไม่ค่อยติดทน เมื่อนำไปซักแล้วสีตกซีดไม่สวย จึงทดลองเอาฝ้ายที่ย้อมแล้วไปต้มกับเปลือกไม้ประดู่ซึ่งให้สีน้ำตาลคล้ายๆ กัน ปรากฏว่าได้สีสันที่สวยงามและติดทนนานขึ้น
ผ้าซิ่นตีนแดง เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ เอกลักษณ์ของบุรีรัมย์
‘ผ้าซิ่นตีนแดง’ เป็นผ้าโบราณของชนชาติลาว ที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือมีหัวซิ่นและท้ายซิ่นเป็นสีแดงสด ถูกทอขึ้นครั้งแรกโดยช่างฝีมือทอผ้าในคุ้มของพระยาเสนาสงคราม เจ้าเมืองคนแรกของอำเภอพุทธไธสง เมื่อประมาณ 200 ปี และชาวบ้านพุทธไธสงนำภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอด มาสร้างสรรค์ลวดลายมัดหมี่เฉพาะของอีสานใต้ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชาวพุทธไธสงและชาวนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์